วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความในใจที่อยากบอก ก่อนจะไปบทที่สอง

ในตอนแรกผมตั้งใจจะเขียนบทความให้เพื่อนๆ อ่านได้ง่ายๆ แต่ยิ่งฟัง podcast ก็ยิ่งคิดลึกๆ ขึ้นไปอีก นั่งเขียนบทร่างแล้วก็ไม่อยากเอาลง มันเหมือนผมก็ไม่เข้าใจแล้วก็เอาลงไปงั้นๆ ... จนคิดว่า เราวาดรูปประกอบดีกว่า น่าจะเข้าใจกันง่ายขึ้น

ก่อนที่จะไปบทความของมาร์ติน (เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะฟังไปแล้วเข้าใจไปมากแล้วก็ได้) ผมอยากเสนอรูปข้างล่างก่อนครับ ว่า "เรื่องของการเล่นหุ้นในตลาด มันมีอะไรบ้าง" (ตามที่ผมเข้าใจนะ)



จะเห็นว่า จริงๆแล้ว คนเราก่อนจะเทรด ก็ต้อง คิด แล้ว ซื้อขาย จากนั้นก็อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง ไม่คุยบ้าง นั่งคิดต่อมั่ง

โดยทั่วไปแล้ว คนเราก็ไม่พ้น การหาข้อมูล ความรู้ และฝึกฝน Skill เพิ่มเติม ตรง Skill นี้แหละ ที่แม้แต่เจ้ามือหรือกองทุนให้ความสำคัญ เรื่องแบบนี้ ถ้าตัดสินใจพลาด ก็ถึงกับล่มสลายกันเลยทีเดียว เนื่องจากเงินในตลาดนั้น เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากๆ ยิ่งกว่าการตกต่ำของธุรกิจเสียอีก

ที่นี้คงมาถึง การฝึก Skill ที่ว่า จะทำยังไง หาสัญญาณซื้อขายจาก Indicator เทพ การซื้อขายที่จุด สูงสุด ต่ำสุด การอ่านธุรกิจขาดแล้วซื้อหุ้นถือยาว .... อันนี้ผมก็คงตอบไม่ได้ครับ ... ผมก็เป็นเพื่อนคนหนี่งที่แสวงหาความสำเร็จในทางสายนี้เหมือนกัน คงหาคำตอบไปด้วยกันล่ะครับ

สวัสดีครับ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเข้าใจจากบทแรก All About Risk

สิ่งที่ได้บทแรก All About Risk

อัน นี้อย่าถือว่าเป็นการแปลเลย ภาษาอังงกฤษผมก็ไม่เก่งมาก แต่อยากทำเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกัน หรือ อาจจะเป็นการแชร์ความรู้กันนะครับ เอาเป็นว่าฟังแล้วเข้าว่ายังไง ก็เขียนอย่างนั้น คงมีผิดเพี้ยนไปบ้าง หากสนใจฟังต้นฉบับก็โหลดได้จากเวบ http://thegeniustrader.com/ นะครับ

สิ่ง ที่เข้าใจจากมาร์ติน ประโยคแรกที่ประทับใจเลยคือ “Trading is not easy way to make money, it’s a skill and every skill takes time” … ความจริงจากประโยคนี้คือ ผมเข้ามาสนใจหุ้นเพราะคิดว่ามันทำเงินได้ง่าย แค่ก็ซื้อ ขาย ไม่ต้องทำธุรกิจ ไม่ต้องออกไปหาตลาด ถ้าหาอ่านหนังสือแล้วทำตาม โดยไม่นึกว่า เบื้องหลังการซื้อๆขายๆ ในกระดานที่วิ่งๆ กันนั้น มีอะไรอยู่บ้าง ประกอบกับลักษณะนิสัยของคนเรา อยากได้ผลตอบแทนสูง ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงสูงๆ อันนี้น่าจะเป็นมาแต่อดีตติดตัวมนุษย์ถ้ำ เช่น หากหากินปกติ ก็ปลูกข้าว ผัก หาปลาง่ายๆ กิน อยากกินเนื้อที่อร่อยขึ้น ก็ต้องออกไปวิ่งล่ากวาง แต่เสี่ยงกับการโดนสัตว์ร้ายกินเพราะเสือก็จะมากินกวางเหมือนกัน … มาถึงทุกวันนี้ การพนัน เสียเงินเล็กน้อย เพื่อหวังลาภก้อนใหญ่ คนเรายอมเสีย ทั้งๆที่เสียบ่อยๆ เสียกันทุกเดือน ก็คิดว่าเป็นการซื้อความหวัง เหมือนเรื่องหุ้น ยอมเสียเงิน เพื่อให้ได้กำไรสูง เช่น ซื้อเหอะ ลงก็คัทลอสซะ ถ้ากำไรก็ถือยาว

มาร์ ตินแนะนำให้เปลี่ยนความคิด ต้องเลิกกล้าได้กล้าเสีย ให้หาทางคำนวนและเล่นกับความเสี่ยงแทน … ความเสี่ยงนี้ หมายถึง ความไม่แน่นอนของตลาด ไม่มีใครรู้อนาคต แล้วจะทำยังไง … เท่าที่ผมจด Key Massage ไว้

How you manage your risks, follow a plan, committing your goals and creating strategy that allow you to take action and make decision align with your goals. This gonna be a best way to managing your risks.

การ วางแผน กลยุทธ์ เป้าหมาย … (เออ แล้วทำไงล่ะ) … ทั้งหมดที่ต้องทำขึ้นมาเพื่อให้เรามีสติ สนใจกับภาวะตลาดในปัจจุบัน เลิกเสีบดายอดีต รู้งี้ เลิกกังวลอนาคต ซื้อแล้วลง ขายแล้วขึ้น ให้เราอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด มาร์ตินได้แนะนำ 3 ข้อ

1. เก็บสถิติการเทรด แล้วดูว่าเราเป็นไง
นับ ว่าเราเทรดใน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน กี่ครั้ง แล้วเทรดไปได้กำไรกี่ครั้ง ครั้งละกี่เปอร์เซนต์ … มาร์ตินพูดถึงกำไรเวอร์ แบบ 200%, 300% นั้น ไม่ต้องไปเน้น เพราะมันนานๆ เกิดที ปกติกำไร 20%, 40%, 50% ก็นับมา แล้วมาหาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซนต์กำไร อัตราส่วนระหว่าง Win / Loss

2. เพิ่มจำนวน Contracts หรือจำนวนหุ้น แล้วจดไปว่ารู้สึกยังไง … รู้สึกลุ้นมากขึ้น ไหล่ตึง ใจเต้นแรง (ผมว่าประมาณ มีสติตามดูรู้ทันกาย … เข้าปฎิธรรมได้เลยนะ 555) … อารมณ์ขณะนั้น

3. Trade in present moment … ชอบประโยคนี้มาก ลองฝึกสนใจภาวะตลาดปัจจุบันและเข้าเทรด ฝึก Relax ขณะเทรด แม้ว่าอารณ์จะตื่นเต้น เทรดตามแผนที่วางไว้ แม้ว่าจะซื้อแล้วลง ขายแล้วขึ้น ให้ทำตามแผน หากเสียดายก็จดอารมณ์ไว้ว่าเสียดายแล้วเทรดต่อ

ทั้งสามข้อนี้ ให้เริ่มโดยใช้ Size เล็กๆ ก่อน ผมนึกถึง KZM นะ … ใช้ได้เลย คนคิดนี่เก่งจริงๆ ^_^

หลัง จากนั้น มาร์ตินน่าจะสื่อว่า เราต้องฝึกการตัดสินใจ การลงมือ เมื่อตลาดเปลี่ยนแปลง โดยพยายามอย่าเทรดตามความรู้สึก ความเชื่อของเรา พฤติกรรมของตลาดไม่เคยเปลี่ยน เพราะคนเราก็มีพฤติกรรมแบบเดิมๆ โดยไม่รู้ตัว … ตัวเราเองก็เช่นกัน ไม่ต้องควบคุมความรู้สึกตัวเอง ว่า อย่าโลภ อย่ากลัว ให้มันเกิดขึ้น และ สังเกตุมัน เฝ้าดูมัน แต่อย่า take action ตามมัน

เทรดเดอร์ ส่วนใหญ่ มักคิดว่าตัวเอง ต้องรู้ข้อมูลของตลาดทุกๆ อย่าง เพื่อการคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้อง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการเสาะหาข้อมูล อาจจะมากเกินไปด้วยซ้ำ … ความรู้เกี่ยงกับตลาดเป็นสิ่งดี ไม่ว่าจะเป็น Technical, Fundamental, Money Management, จิตวิทยามวลชน, การมีสติ แต่มันมีระดับของมันอยู่ การ balance และนำมาใช้งานจริงต่างหาก ที่เป็นตัวตัดสิน

หาก เริ่มต้นตอนนี้ ลองดูที่การวางแผนข้างต้นและเข้าเทรดด้วย Size ที่เล็กพอที่จะไม่เกิดความกลัวมาก ให้รู้ทุกครั้งว่า When how and where you trade and take profit, ถ้าเกิดความรู้สึกเสียดาย รู้งี้ ให้จดไว้ ลงวันที่ เวลา สาเหตุไว้ด้วย เช่น วันที่ xxx เวลา xxx หุ้นที่เล็งไว้ วิ่งไป 10% รู้งี้ซื้อก็ดี เล็งไว้นานแล้ว

Accepting yourself, are you setting a goal and your create amount of your risk to achieve your goals. Just being aware of your personality and you will find the solutions.

….

นี่ แค่บทที่หนึ่ง ฟังหลายรอบมาก แต่ก็ดี ฝึก skill การฟังและทำความเข้าใจ อาจจะเข้าใจไม่หมดและแปลไม่ถูกบ้างนะครับ แต่ผมว่ามีประโยชน์นะ … และโชคดีที่คุณต้านคิด KZM ขึ้นมา เป็น Model ที่ใช้ฝึกได้ดีทีเดียว

จบตอนนี้ก่อนนะครับ … 

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดเรื่องการเล่นอนุพันธ์ - Long Only

สัปดาห์ที่แล้ว ได้คุณกับเพื่อนที่รู้จักทางเวบบอร์ดและ facebook ชื่อคุณช้าง ...

คุณช้างได้แนะนำเรื่องการวางกลยุทธ Future และ Single Stock ผมมานั่งคิดๆ ดู ถ้าเรามีเงินมากถึงระดับนึง เราก็สามารถ cover การเล่น future ได้โดยไม่เสี่ยง

จากหลักการ TFEX 1 contract = มูลค่า SET50 X 1000 = tdex x 100,000 หุ้น เช่น SET50 800 จุด คือ 800,0000 บาท หากเราเล่น Long ต้องมีเงินที่จะเสียเท่านี้โดยการลงเงินประกันไว้ 50,000 บาท หากหุ้นลงไปถึง 0 ก็จะเสียทั้งหมด 800,000 คิดเป็นกรณีเลวร้ายจริง

แล้วหากเราเป็นกองทุนจะเล่นยังไง ตามหลักการ KZM คำนวนทุนที่จะเสียทั้งหมด ในกรณี Long ทุกๆ 50 จุด เก็บจนถึงดัชนี SET50 - 900 จุด จะเสียเงินประมาณ 8,500,000


ในความจริง ดัชนีจะแกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ  เวลาเทรด เช่นดัชนีตกมาที่ 800 ก็ Open Long Zone 800, หากตกลงมาอีกที่ 750 ก็ Long อีก พอมันแกว่งตัวขึ้น อาจจะ 790 ก็ทำกำไร Zone 750 ซะ

กำไรที่ได้คือ 40x1000 =  40,000 บาท  
โดยไม่ต้องคัทลอสเลย และแทนที่จะซื้อหุ้น 800,000 และ 750,000 (สภาพคล่องก็ไม่ค่อยจะมี)
ก็แค่วางเงินสดประกันไว้ เงินสดที่เหลือจะไปลงพันธบัตรระยะสั้นบางส่วนยังไงได้

กรณีสัญญาหมดอายุก็โดยดัชนีไม่เกิน 800 ต้อง Roll over ไป คือ ถือ Zone 800 ต่อไป ต้นทุนคือค่าคอม

หากลองแบ่งโซนมาเป็นทีละ 10  จุด ... แล้วมีกอง A,B,C,D .... คำนวนแล้วกองละ 40 ล้าน ทั้งหมดก็ 120 ล้าน ... หากหุ้นลงหนักๆ แบบที่ว่า คนจะเลิกเล่น  Future แล้ว ก็เอาเงินสดทีกันไว้ ไปซื้อหุ้นจริงยังได้ เป็นการเก็บทรัพย์สินจริง รอวันตลาดกลับมา

จะเห็นว่าแค่คิดง่ายๆ กองทุนเล็กๆ ยังมองเห็นกำไรมากกว่าขาดทุน ... ผมว่าจุดบอดของการเทรดแบบนี้คือ ไม่มีสภาพคล่องของสัญญา ซึ่ง SET50 Index Future ติดตลาดไปแล้ว ส่วน Single Stock Future นั้น หากราคาไม่สูง สภาพคล่องยังน้อย ผมมอง BTS กับ QH แล้ว ยังไม่เห็นโอกาศนัก

คิดว่าแลกเปลี่ยนกันนะครับ
^_^






วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

KZM : Resources

Links ที่สนทนากันเกี่ยวกับ KZM

คลับอิสรภาพทางการเงิน http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/?subgroup=6

แล้วจะมี Links เกี่ยวกับ KZM ... ถ้าเข้าใจ concept ตอนต้น เข้าไปไล่ตามอ่านจะสนุกมากๆ ครับ ... นี่ผมกลับไปอ่านมาตะกี้ ยัง อ๊ะ ทำไมเข้าใจบางเรื่องมากขึ้น ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอ่านผ่านไปแล้วนี่นา

ขอให้สนุกกับตลาดหุ้นครับ

KZM : Before next step

ถึงตรงนี้ ผมขอแสดงความเห็น และ ประสบการณ์ส่วนตัวให้อ่านกันก่อน

ระบบ KZM ไม่ไช่การที่รายย่อยจะลงทุนด้วยเงิน 100,000 - 1,000,000 แล้วจะรวยเป็น 50 ล้านภายในระยะเวลาอันสั้นๆ ... มันเป็นระบบที่จะฝึกฝนตัวเราเองในการลงทุน การปกป้องเงินลงทุนที่เราเคยอ่านเจอในหนังสือหุ้นหลายๆเล่ม มันคือการสร้าง baseline นั่นเอง

จากประสบการณ์ของผม ที่ซื้อขายตามเทคนิค ปัญหาใหญ่คือ โดนเทคนิคหลอก และ การเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ปัญหาคัทลอสจนเงินเหลือน้อย หรือ เงินแทบหมด ปัญหาการพยายามหา ระบบ Perfect system trade

ทั้งหมดเหล่านี้ ไม่รู้เคยเจอกันหรือเปล่า แต่มันเป็นปัญหากับตัวผมมาก ที่จะต้องหาข่าวสาร คาดการณ์ล่วงหน้า การกลัวโดนหลอก การแก้พอร์ตด้วยการเลือกหุ้นใหม่ (เลือกแล้วก็ถูกๆ ผิดๆ)

....

จริงๆแล้ว หลักการที่ศึกษามา ไม่ผิดหรอก ถ้าเราลงทุนด้วย กำไรที่เรามี และ เงินทุนเรายังอยู่ครบ

หลักการของ KZM ตอบตรงนี้ได้ครับ ส่วนในทางปฏิบัติ ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแล้วว่าจะมีวิธีการออกแบบ baseline ของตนเองยังไง ... การคิดขึ้นมาเอง มันจะทำให้เรา เกิดความสามารถด้านอื่นๆ ขึ้นมาได้ เช่น การสังเกตุตลาด การฝึกทำข้อมูลสรุป การหาวิธี simulation การคิดวิธีการเทรดแบบอื่นๆ โดยรักษาต้นทุนได้ตลอด

....

ข้อสังเกตุ 
1. KZM จะไม่มีการคัทลอสเพราะเราแบ่งเงินไว้แล้ว ถึงหุ้นจะไปแกว่งโซนล่างๆ ก็มีเงินเล่น
2. เพราะการคัทลอสคือการขายของคืนให้เขาไปนั่นเอง คนที่ขายให้เราแพง จะรอซื้อคืนในราคาต่ำกว่า
3. KZM จะลงทุนใน ETF เท่านั้น ถ้าเล่นหุ้นรายตัว ความเสียเปรียบของ KZM ในหุ้นรายตัวคือ การโดนหุ้นเพิ่มทุน คือ เจ้าของออกหุ้น เอาเงินสดเข้าตัว มีหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้น ต้นทุนที่เราเก็บจะเสียเปรียบเจ้าของเสมอ ... แต่ ETF คือการกระจายตัวตามดัชนี


ทั้งสามเรื่อง เป็น พื้นฐานที่อยากให้เพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่าน สร้างให้แข็งแรง
ตัวผมเองก็กำลังสร้างเหมือนๆ กัน ... บทความต่อๆ ไป ตั้งใจว่าจะเป็นการสรุปความหมายจากการฟัง The genius trader ที่คุณมัดเลย์เคยลงไว้ (ส่วนตัวฟังภาษาอังกฤษไม่เก่งนะครับ แต่จะพยายามจับดูครับ)

สวัสดีครับ

KZM : The baseline

หลักการของ Baseline
ต้องหากระแสเงินสดจาก ETF ทำไมต้องเป็น ETF เพราะ กองทุนนี้เป็นตัวแทนของตลาด อยู่นานกว่าหุ้น (เหตุผลมีมากครับเอาว่าลองไปหาอ่านดูก่อนก็ได้) จากนั้นให้แบ่งเงินที่มีอยู่ ออกเป็นส่วนๆ เพื่อเทรด ETF ได้ทุกราคา ไม่ว่าราคาจะวิ่งลงมาจนต่ำสุด ถ้าเลวร้ายสุดๆ คือ 0.01 บาท (ตลาดหุ้นคงต่ำกว่า 100 จุด) หรือตลาดพังไปเลย ก็ต้องทำใจนะครับ อนิจจัง ไม่เที่ยง ที่นี้จะคำนวนเงินยังไง เอาตัวอย่างที่ผมทำใน Google Docs
แล้วกัน

 

ตัวอย่างนี้ ผมวางไว้ว่า จะเทรดทีละ 100 หุ้น ที่ราคา TDEX ที่ 8.5, 8.4, 8.3, ..... จนถึง 1.6 บาท ต้องใช้เงินคร่าวๆ ประมาณ 36,000 บาท ... หลักการทำกำไรคือ เมื่อแต่ละโซนขึ้น 0.10 บาทให้ขาย อันนี้เป็นตัวอย่างจริง จะเห็นว่า ผมติดดอยอยู่ที่ 8.52 ตั้งแต่ 11 May 2012 ซื้อแล้วขายไม่ได้ ราคาลงมาตลอด แต่ความกลัวมีใหม "ไม่มี" เพราะเรามีเงินเผื่อไว้แล้ว ... อาจจะเห็นบางโซนราคามันแปลก เช่น โซน 8 บาท ผมซื้อได้ 7.94 เพราะวันนั้นราคาเปิดกระโดดลง ทำให้เราได้ราคาต่ำกว่าที่คิด และเวลาขาย ต้องขาย 8.10 แต่วันนั้นเปิดกระโดดขึ้นแล้วมาตั้งขายทีหลังเพราะลืมตั้งตอนกลางคืน เลยทำให้ขายได้ที่ 8.18

 

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะมองว่า แค่กำไรครั้งละ 6 บาทเนี่ยนะ จะทำอะไรได้ อันนี้ให้ต่อยอดครับ ...

กลับไปที่การวางเงินทุกโซนก่อน จะเห็นว่าเราใช้เงิน 36,000 ต่อช่วงราคา 1.6 - 8.5 ต่อวิธีการเทรด 1 แบบ

ถ้าเรามีวิธีเทรดแบบที่สอง เช่น การเทรดแบบใช้สัญญาณ Moving Average ก็กันเงินออกมาอีก 36,000 ต่อช่วงราคา 1.6 - 8.5

ตามหนังสือเทคนิคทั่วไปจะสอนเรื่องการ "คัทลอส" การคัทลอส คือ การให้เงินคืนเขาไปครับ (จากงานสัมมนาเลยนะ) จำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่ขายคืนราคาถูกลง

หากเราจะประยุกต์ใช้การวางโซน คือ เมื่อมีสัญญาณ ให้ซื้อรวบทุกโซนที่เผื่อไว้เลย ตัวอย่าง มีการทำ new high เราก็ซื้อ TDEX ที่ 8.19 ราคาเดียวคลุมไปถึง 8.5 ถ้าสัญญาณผิด ซื้อแล้วลง ... ไม่เป็นไร ลงมาอีก สมมติลงมาที่ 6.5 บาทแล้วยืนได้ จนทำ new high ก็ให้ซื้อที่ราคา 6.6x - 6.7x รวบจนมาถึงราคา 8.1 เพราะโซนมันว่างอยู่ ถ้าสัญญาณถูกก็ปล่อยวิ่งไป จนมีสัญญาณขาย เช่น MA ตัดลง อะไรก็แล้วแต่



อันนี้เป็น Level 1 นะครับ สร้าง baseline หากระแสเงินสดจากการเหวี่ยงของราคา ... ยังไม่ได้เริ่มเก็งกำไรนะครับ

KZM : High Level Concept

blog นี้เป็นการสรุป KZM Model ตามที่ผมได้ติดตาม รวมถึงไป Meeting มาด้วย

KZM Model ย่อมาจาก Killer Zone Model เริ่มต้นมาจากคุณ Mudleygroup นำแนวคิดมาเผยแพร่ใน Pantip ห้องอิสรภาพทางการเงิน http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/?subgroup=6 และมีการซักถามกันมากในกระทู้จนกระทั่งได้จัดสัมมนาเล็กๆ ขึ้นมาเพื่ออธิบายการต่อยอด ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ เป็นแนวคิดล้วนๆ ที่เปลี่ยนวิธีคิดในการเทรดหุ้นของผมไปเลย ต้องนับถือคุณ Mudleygroup ที่ใจกว้างมากๆ ที่เผยแพร่ประสบการณ์นี้

ต่อไปนี้เป็นสรุปความเห็นส่วนตัวของผม ตามความเข้าใจและที่ผมนำมาปฎิบัติเท่านั้นนะครับ อาจจะไม่ถูกต้อง 100% ตามต้นฉบับ อ่านแล้วกรุณาคิดแตกต่าง และ พิจารณาก่อนนำไปใช้จริง

Concept การบริหารเงินเทรดหุ้นด้วยหลักการ KZM


1. สร้าง Baseline หากระแสเงินสด

Baseline คือระบบที่สามารถทำเงินได้ตลอดเวลาไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร หลักของ KZM ไม่ไช่การซื้อหุ้นพื้นฐานดีเพื่อรอปันผล แต่เป็นการลงทุนใน ETF แล้วทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคา ETF ตามดัชนี

เรื่องตัวอย่างการสร้าง baseline จะเอาไว้ทีหลังนะครับ เอาเรื่องหลักการก่อน

ต่อมาจะทำกำไรให้มากขึ้นได้อย่างไร ... ถ้ามีกำไรสะสมมากพอที่จะซื้อหุ้นได้ ให้เลือกความถนัดของตนเอง คราวนี้ งัดตำรามาใช้ได้ เช่น หุ้นพื้นฐาน หุ้นปั่น หุ้นตามข่าวลือ แล้วแต่จะคิด

ผมเองลองยกตัวอย่างว่าเราจะเข้าหุ้นปั่น จะด้วยเทคนิคหรือข่าวลือก็แล้วแต่ ก็จะเป็นในรูปแบบนี้



ถ้าซื้อหุ้นปั่นแล้วเจ๊งล่ะ ... ที่เจ๊งคือกำไร ไม่ไช่ทุน อย่าคิดมาก แสดงว่า ฝีมือยังไม่เข้าขั้น เลือกหุ้นไม่เป็น ต้องฝึกฝนเพิ่มต่อไป แต่ที่หายไปคือ กำไร ส่วนระบบ baseline ยังทำเงินให้เราอยู่

ถ้ากำไรสะสมเยอะ ก็ซื้อหุ้นปั่นได้หลายตัว ตัวไหนทำกำไรได้ ก็จัดการนำมาสะสมซะ



ทั้งหมดคือ High level concept ของ KZM Level 1 - 2

ตอนต่อไปจะมาว่ากันด้วยเรื่อง วิธีการสร้าง baseline นะครับ